Site mapContact Us
Cart Buy Now or Call 0-2402-6117, 0-2402-8107
Search

การบริหารเงินสด

  เงินสด สินทรัพย์ที่จำเป็นของธุรกิจ โดยธุรกิจจะต้องจ่ายเงินสดเพื่อซื้อวัตถุดิบมาป้อนในขบวนการผลิต จ่ายค่าแรงซื้อเครื่องมือเครื่องจักร และจ่ายเงินเดือนชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ แม้ว่าเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แก่ธุรกิจ แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด

ดังนั้น การบริหารเงินสดที่ดี และมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ธุรกิจลดจำนวนเงินสดที่ต้องถือไว้ในมือซึ่งไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ลงได้ และสามารถที่จะนำเงินสดไปชำระค้าสินค้าเพื่อเอาส่วนลดเงินสดได้

“เงินสด” (Cash) หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คที่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทางดราฟต์ของธนาคารและธนาณัติ หรือ หมายถึง สินทรัพย์ต่างๆ ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่าย
ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันทีที่ต้องการ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ตลอดจนสิ่งที่ใกล้เคียงกับ เงินสด เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เป็นต้น

การบริหารเงินสด
      การบริหารเงินสด (Cash Management) เป็นการบริหารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสดและการลงทุนในหลักทรัพย์ชั่วคราวของเงินสด ผู้จัดการทางการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบระบบการบริหารเงินสดของกิจการ การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารเงินสด เพื่อใช้พยากรณ์ความต้องการเงินสดในอนาคตและการควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามงบประมาณ นอกจากนี้งบประมาณเงินสดของกิจการต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน จำนวนเงินสดคงเหลือในบัญชี รายการจ่ายเงินสด ยอดเงินคงเหลือในแต่ละเดือน จำนวนเงินสด คงเหลือในบัญชี รายการจ่ายเงินสด ยอดเงินสดคงเหลือในแต่ละเดือน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าข้อมูลต่างๆนี้มีความจำเป็นในการบริหารเงินสดของธุรกิจมาก ซึ่งระบบการรายงานข้อมูลที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ในการบริหารเงินสด
      คือเพื่อให้กิจการมีสภาพคล่องและกำไร หมายถึงผู้จัดการการเงินต้องพยายามลดเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดที่เหลือไว้โดยเปล่าประโยชน์         (Idle Cash) ให้มีน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์จากเงินสดที่มีอยู่ ให้มากที่สุด กล่าวคือ ผู้จัดการการเงินควรนำเงินสดส่วนเกินไปหาผลประโยชน์ให้มากที่สุดในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสภาพคล่องทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

การบริหารเงินสดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
   1. กำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม
   2. การจัดเก็บเงินสด การจ่ายชำระเงินสดอย่าง
       มีประสิทธิภาพ
   3. ลงทุนเงินสดส่วนเกินเพื่อให้ได้รับผลตอบ
       แทนสูงสุด
 


1. การกำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม

     การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสมนั้นจะต้องพิจารณาถึงต้นทุน และผลประโยชน์ของการที่มีเงินสดไว้ในมือ ตามหลักการของความเสี่ยงและผลตอบแทน ผลประโยชน์ของการมีเงินสดในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย

สาเหตุที่ต้องถือเงินสด

      John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า เหตุผลที่บุคคลและกิจการต้องถือเงินสดนั้น มีดังนี้

  ก. ถือเงินสดไว้เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจประจำวัน

      การดำเนินตามปกติของธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตการขาย การเรียกเก็บหนี้ และการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเงินสดทั้งสิ้น โดยเริ่มตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบใช้แรงงานในการผลิต ขายสินค้าสำเร็จรูป และเมื่อเก็บเงินจากลูกหนี้ ธุรกิจจะได้รับเงินสดมา และจะต้องนำเงินสดนั้นมาชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิต การขายและการบริหารอาทิเช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ภาษี เงินปันผล กระแสเงินเข้าและออกของธุรกิจนั้นมีเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ธุรกิจจึงจำเป็นต้องถือเงินสดไว้จำนวนหนึ่งเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ระดับของเงินสดในมือก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ
 
ข. ถือเงินสดไว้เพื่อรอจังหวะการลงทุนในอนาคต


      ธุรกิจอาจถือเงินสดไว้เพื่อหาประโยชน์ในการเอาส่วนลดการค้า หรือซื้อวัตถุดิบในราคาถูกมากเมื่อมีการลดราคาพิเศษในบางครั้งก็อาจหาผลกำไรจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในกรณีของธุรกิจที่มีการค้ากับต่างประเทศ

ค. ถือเงินสดไว้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

      ในบางครั้ง อาจเกิดเหตุจำเป็นที่ไม่คาดขึ้นที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้เงินสด เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องกันเงินสดส่วนหนึ่งไว้เพื่อเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ธุรกิจมักจะถือเงินส่วนนี้ในรูปของหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่ายมากกว่า
    
     นอกจากสาเหตุทั้ง 3 ประการแล้ว ธุรกิจอาจจำเป็นต้องถือเงินสดไว้อีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นไปตามข้อเรียกร้องของธนาคารพาณิชย์ที่ธุรกิจติดต่ออยู่ โดยถือในรูปของเงินฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งทำให้ธุรกิจสูญเสียโอกาสที่จะนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ลงทุนหาผลประโยชน์

วงจรเงินสด (Cash Cycle)
     วงจรเงินสด คือช่วงระยะเวลาระหว่างจุดที่นำเงินสดไปลงทุนในวัตถุดิบจนกระทั่งถึงจุดที่ได้รับเงินสดจากการชำระเงินค่าซื้อสินค้าโดยลูกค้า

แผนภาพแสดงวงจรเงินสดของกิจการ
     การเก็บเงิน........* เงินสด ............ การจัดซื้อ . ลูกหนี้การค้า การขายเงินสด วัตถุดิบ การขายเงินเชื่อ สินค้าสำเร็จรูปการผลิต

การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสม
    การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจการจะมีวิธีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและปัจจัยเฉพาะของกิจการนั้นวิธีการต่างๆ ได้แก่

 

1. พิจารณาจากช่วงเวลาที่มีการจ่ายเงินสูงสุด 

เช่น กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินสดในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาดังนี้ เงินสด ก.ค. 1,500 ส.ค. 2,000 ก.ย. 2,500 ต.ค. 3,720 พ.ย. 3,000 ธ.ค. 2,500 กิจการควรมีเงินสดที่เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายภายใน   12 วันเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด กิจการจึงเลือกเดือนนี้เป็นฐานในการคำนวณเงินสด ที่เหมาะสมต่อวัน ซึ่งคิดเฉลี่ยแล้วจะได้วันละ 120 บาท ดังนั้น เงินสดในมือ    ที่เหมาะสมที่กิจการควรมีไว้ใช้จ่ายภายใน 12 วันจะเป็นเงิน 1,440 บาท (120 X 120 ) 




2. วิธีเฉลี่ย
วิธีนี้กิจการจะนำเอาเงินสดจ่ายในช่วงเวลาที่พิจารณามาเฉลี่ยหาเงินสดจ่าย ต่อวันแล้วคำนวณหาว่าในเวลาทั้งหมดควรถือเงินสดที่เหมาะสมเป็นจำนวนเท่าไร

จากข้อมูลในข้อ 1 นำมาใช้วิธีเฉลี่ยได้ดังนี้


        เงินสดเฉลี่ยต่อวัน = 1,500 + 2,000+2,500+3,720+3,000+2,500 / 184 = 82.71 บาทต่อวัน
ดังนั้นใน 12 วันกิจการควรมีเงินสดในมือที่เหมาะสม = 992.52 บาท ( 82.71 X 12 )

  1. THE BAUMOL MODEL  :  เป็นทฤษฎีการกำหนดเงินสดที่เหมาะสมของ William Baumol
        สูตรในการคำนวณหาเงินสดที่เหมาะสม C = square root 2bt / i
            c = เงินสดที่เหมาะสมหรือเงินสดที่จัดหาต่อครั้ง
            i = อัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย 
            b = ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินสดต่อครั้ง
            t = เงินสดที่ต้องใช้จ่ายทั้งสิ้นของงวด  

 ตัวอย่าง บริษัท A จำกัดประมาณเงินสดจ่ายสำหรับระยะเวลา 2 เดือนเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท คือการจัดหาเงินสดโดยการนำหลักทรัพย์ไปขาย ถ้าอัตราผลตอบแทนจากการถือหลักทรัพย์เท่ากับร้อยละ 6 ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินสดต่อครั้งเท่ากับ 50 บาท กิจการควรถือเงินสดที่เหมาะสมเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท คำนวณได้ดังนี้

  C = square root 2x50x250,000 /0.01 = 5,000
ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อยอดเงินสดที่เหมาะสม

โดยปกติธุรกิจจะกำหนดให้ยอดเงินสดที่ต้องการและเหมาะสมนั้น เท่ากับ
     1. ขนาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน บวกกับ เงิน
สำรองฉุกเฉิน หรือ

     2. ยอดเงินขั้นต่ำที่กำหนดโดยธนาคาร ขึ้นอยู่ว่ายอดใดสูงกว่าขนาดของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นกับขนาดของธุรกิจ ความไม่แน่นอนของกระแส  เงินสดรับ และจ่ายและความสามารถในการกู้ยืมในช่วงเวลาอันสั้น ถ้าธุรกิจมีขนาดใหญ่ ความต้องการใช้เงินสดก็มากขึ้นตามไปด้วย และถ้าธุรกิจคาดคะเนไม่ได้ว่าจะมีกระแสเงินสดจ่ายเท่าไรก็ยิ่งต้องพยายามถือเงินสดให้มากเข้าไว้ แต่ถ้าธุรกิจสามารถกู้ยืมได้เร็ว ก็ไม่จำเป็นต้องถือเงินสดไว้มาก

2. การจัดเก็บเงินสดและการจ่ายชำระเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ

      กิจการควรจะหาวิธีลดระยะเวลาในขั้นตอนการการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย 2 วิธีดังนี้
  1. การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด
2. การชะลอเงินสดจ่าย คือเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ กิจการต้องชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า

3. การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุน

      การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุนกิจการควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ จะเห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการบริหารเงินสดไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพ กิจการจะมีปัญหา ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องให้ความสนใจ ควบคุมดูแล เอาใจใส่ ในการบริหารเงินสดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหาย




บทความโดย : คุณสุกล   สุรมาศ

        ที่ปรึกษา SMEs ศูนย์ประสานและบริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว)
 
Service
ContactUs
Download
รับทำเว็บไซต์
หางานทั่วไทย
Prosoft CRM
B2BThai