 |
|
เงินสด สินทรัพย์ที่จำเป็นของธุรกิจ โดยธุรกิจจะต้องจ่ายเงินสดเพื่อซื้อวัตถุดิบมาป้อนในขบวนการผลิต จ่ายค่าแรงซื้อเครื่องมือเครื่องจักร และจ่ายเงินเดือนชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ แม้ว่าเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แก่ธุรกิจ แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด
ดังนั้น การบริหารเงินสดที่ดี และมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ธุรกิจลดจำนวนเงินสดที่ต้องถือไว้ในมือซึ่งไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ลงได้ และสามารถที่จะนำเงินสดไปชำระค้าสินค้าเพื่อเอาส่วนลดเงินสดได้
“เงินสด” (Cash) หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืน เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คที่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทางดราฟต์ของธนาคารและธนาณัติ หรือ หมายถึง สินทรัพย์ต่างๆ ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่าย |
ที่กิจการสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทันทีที่ต้องการ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ตลอดจนสิ่งที่ใกล้เคียงกับ เงินสด เช่น เงินฝากเผื่อเรียก เป็นต้น |
การบริหารเงินสด
การบริหารเงินสด (Cash Management) เป็นการบริหารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสดและการลงทุนในหลักทรัพย์ชั่วคราวของเงินสด ผู้จัดการทางการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบระบบการบริหารเงินสดของกิจการ การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารเงินสด เพื่อใช้พยากรณ์ความต้องการเงินสดในอนาคตและการควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามงบประมาณ นอกจากนี้งบประมาณเงินสดของกิจการต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน จำนวนเงินสดคงเหลือในบัญชี รายการจ่ายเงินสด ยอดเงินคงเหลือในแต่ละเดือน จำนวนเงินสด คงเหลือในบัญชี รายการจ่ายเงินสด ยอดเงินสดคงเหลือในแต่ละเดือน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าข้อมูลต่างๆนี้มีความจำเป็นในการบริหารเงินสดของธุรกิจมาก ซึ่งระบบการรายงานข้อมูลที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ในการบริหารเงินสด
คือเพื่อให้กิจการมีสภาพคล่องและกำไร หมายถึงผู้จัดการการเงินต้องพยายามลดเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดที่เหลือไว้โดยเปล่าประโยชน์ (Idle Cash) ให้มีน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์จากเงินสดที่มีอยู่ ให้มากที่สุด กล่าวคือ ผู้จัดการการเงินควรนำเงินสดส่วนเกินไปหาผลประโยชน์ให้มากที่สุดในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสภาพคล่องทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
การบริหารเงินสดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดจำนวนเงินสดในมือที่เหมาะสม
2. การจัดเก็บเงินสด การจ่ายชำระเงินสดอย่าง
มีประสิทธิภาพ
3. ลงทุนเงินสดส่วนเกินเพื่อให้ได้รับผลตอบ
แทนสูงสุด |
|

|
การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสมนั้นจะต้องพิจารณาถึงต้นทุน และผลประโยชน์ของการที่มีเงินสดไว้ในมือ ตามหลักการของความเสี่ยงและผลตอบแทน ผลประโยชน์ของการมีเงินสดในมือ ก็คือความสะดวกในการมีเงินไว้ใช้จ่าย ส่วนต้นทุนของการถือเงินสดก็คือ ดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการที่นำเงินสดนั้นไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ย หรือจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่าย
สาเหตุที่ต้องถือเงินสด
John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า เหตุผลที่บุคคลและกิจการต้องถือเงินสดนั้น มีดังนี้
|
ก. ถือเงินสดไว้เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจประจำวัน
การดำเนินตามปกติของธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตการขาย การเรียกเก็บหนี้ และการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเงินสดทั้งสิ้น โดยเริ่มตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบใช้แรงงานในการผลิต ขายสินค้าสำเร็จรูป และเมื่อเก็บเงินจากลูกหนี้ ธุรกิจจะได้รับเงินสดมา และจะต้องนำเงินสดนั้นมาชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิต การขายและการบริหารอาทิเช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ภาษี เงินปันผล กระแสเงินเข้าและออกของธุรกิจนั้นมีเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ธุรกิจจึงจำเป็นต้องถือเงินสดไว้จำนวนหนึ่งเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ระดับของเงินสดในมือก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ
|
|
ข. ถือเงินสดไว้เพื่อรอจังหวะการลงทุนในอนาคต
ธุรกิจอาจถือเงินสดไว้เพื่อหาประโยชน์ในการเอาส่วนลดการค้า หรือซื้อวัตถุดิบในราคาถูกมากเมื่อมีการลดราคาพิเศษในบางครั้งก็อาจหาผลกำไรจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในกรณีของธุรกิจที่มีการค้ากับต่างประเทศ
ค. ถือเงินสดไว้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
ในบางครั้ง อาจเกิดเหตุจำเป็นที่ไม่คาดขึ้นที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้เงินสด เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องกันเงินสดส่วนหนึ่งไว้เพื่อเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ธุรกิจมักจะถือเงินส่วนนี้ในรูปของหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือง่ายมากกว่า
|
 |
นอกจากสาเหตุทั้ง 3 ประการแล้ว ธุรกิจอาจจำเป็นต้องถือเงินสดไว้อีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นไปตามข้อเรียกร้องของธนาคารพาณิชย์ที่ธุรกิจติดต่ออยู่ โดยถือในรูปของเงินฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งทำให้ธุรกิจสูญเสียโอกาสที่จะนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ลงทุนหาผลประโยชน์ |
วงจรเงินสด (Cash Cycle)
วงจรเงินสด คือช่วงระยะเวลาระหว่างจุดที่นำเงินสดไปลงทุนในวัตถุดิบจนกระทั่งถึงจุดที่ได้รับเงินสดจากการชำระเงินค่าซื้อสินค้าโดยลูกค้า
แผนภาพแสดงวงจรเงินสดของกิจการ
การเก็บเงิน........* เงินสด ............ การจัดซื้อ . ลูกหนี้การค้า การขายเงินสด วัตถุดิบ การขายเงินเชื่อ สินค้าสำเร็จรูปการผลิต
การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสม
การกำหนดเงินสดในมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจการจะมีวิธีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและปัจจัยเฉพาะของกิจการนั้นวิธีการต่างๆ ได้แก่
|
1. พิจารณาจากช่วงเวลาที่มีการจ่ายเงินสูงสุด
เช่น กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินสดในระยะเวลา 6
เดือนที่ผ่านมาดังนี้ เงินสด ก.ค. 1,500 ส.ค. 2,000 ก.ย. 2,500 ต.ค. 3,720
พ.ย. 3,000 ธ.ค. 2,500
กิจการควรมีเงินสดที่เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายภายใน 12
วันเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด
กิจการจึงเลือกเดือนนี้เป็นฐานในการคำนวณเงินสด ที่เหมาะสมต่อวัน
ซึ่งคิดเฉลี่ยแล้วจะได้วันละ 120 บาท ดังนั้น เงินสดในมือ ที่เหมาะสมที่กิจการควรมีไว้ใช้จ่ายภายใน 12 วันจะเป็นเงิน 1,440 บาท (120 X
120 )
|
2. วิธีเฉลี่ย
วิธีนี้กิจการจะนำเอาเงินสดจ่ายในช่วงเวลาที่พิจารณามาเฉลี่ยหาเงินสดจ่าย ต่อวันแล้วคำนวณหาว่าในเวลาทั้งหมดควรถือเงินสดที่เหมาะสมเป็นจำนวนเท่าไร
|
จากข้อมูลในข้อ 1 นำมาใช้วิธีเฉลี่ยได้ดังนี้
เงินสดเฉลี่ยต่อวัน = 1,500 + 2,000+2,500+3,720+3,000+2,500 / 184 = 82.71 บาทต่อวัน
ดังนั้นใน 12 วันกิจการควรมีเงินสดในมือที่เหมาะสม = 992.52 บาท ( 82.71 X 12 )
1. THE BAUMOL MODEL : เป็นทฤษฎีการกำหนดเงินสดที่เหมาะสมของ William Baumol
สูตรในการคำนวณหาเงินสดที่เหมาะสม C = square root 2bt / i
c = เงินสดที่เหมาะสมหรือเงินสดที่จัดหาต่อครั้ง
i = อัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย
b = ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินสดต่อครั้ง
t = เงินสดที่ต้องใช้จ่ายทั้งสิ้นของงวด
ตัวอย่าง บริษัท A จำกัดประมาณเงินสดจ่ายสำหรับระยะเวลา 2 เดือนเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท คือการจัดหาเงินสดโดยการนำหลักทรัพย์ไปขาย ถ้าอัตราผลตอบแทนจากการถือหลักทรัพย์เท่ากับร้อยละ 6 ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินสดต่อครั้งเท่ากับ 50 บาท กิจการควรถือเงินสดที่เหมาะสมเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท คำนวณได้ดังนี้
|
C = square root 2x50x250,000 /0.01 = 5,000
ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อยอดเงินสดที่เหมาะสม |
โดยปกติธุรกิจจะกำหนดให้ยอดเงินสดที่ต้องการและเหมาะสมนั้น เท่ากับ
1. ขนาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน บวกกับ เงิน
สำรองฉุกเฉิน หรือ
2. ยอดเงินขั้นต่ำที่กำหนดโดยธนาคาร ขึ้นอยู่ว่ายอดใดสูงกว่าขนาดของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นกับขนาดของธุรกิจ ความไม่แน่นอนของกระแส เงินสดรับ และจ่ายและความสามารถในการกู้ยืมในช่วงเวลาอันสั้น ถ้าธุรกิจมีขนาดใหญ่ ความต้องการใช้เงินสดก็มากขึ้นตามไปด้วย และถ้าธุรกิจคาดคะเนไม่ได้ว่าจะมีกระแสเงินสดจ่ายเท่าไรก็ยิ่งต้องพยายามถือเงินสดให้มากเข้าไว้ แต่ถ้าธุรกิจสามารถกู้ยืมได้เร็ว ก็ไม่จำเป็นต้องถือเงินสดไว้มาก
|
 |
กิจการควรจะหาวิธีลดระยะเวลาในขั้นตอนการการดำเนินการเกี่ยวกับการชำระเงิน การจัดเก็บเงิน การจัดส่งเอกสารจากผู้ส่งมายังผู้รับเงิน การจ่ายชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย 2 วิธีดังนี้
|
1. การเร่งเงินสดรับ คือทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ กิจการจะต้องเร่งการรับเงินให้เร็วที่สุด
2. การชะลอเงินสดจ่าย คือเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ กิจการต้องชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น โดยควรจะยืดเวลาการชำระให้นานที่สุด โดยที่กิจการไม่เสียชื่อเสียงในเรื่องของการชำระค่าสินค้า |
การนำเงินสดส่วนเกินไปลงทุนกิจการควรจะหาหนทางเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท ที่จะสามารถรักษาทั้งสภาพคล่อง ความเสี่ยงน้อย และมีผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ จะเห็นได้ว่า เงินสดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการบริหารเงินสดไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพ กิจการจะมีปัญหา ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องให้ความสนใจ ควบคุมดูแล เอาใจใส่ ในการบริหารเงินสดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้กิจการได้รับความเสียหาย
บทความโดย : คุณสุกล สุรมาศ
ที่ปรึกษา SMEs ศูนย์ประสานและบริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว)